เทคนิคการถ่ายพุลเบื้องต้น (จากประสบการณ์อันน้อยนิด)

ไม่ว่างานวันพ่อวันแม่ หรือวันปีใหม่จะมีการจุดพลุเฉลิมฉลองเสมอ การถ่ายพลุไม่ใชเรื่องยากอะไร ใครๆสามารถถ่ายพลุได้ใช้กล้องอะไรที่ถ่ายก็ได้ขอให้กล้องนั้นมีโหมด M เราก็สามารถถ่ายพลุได้แล้ว ผมจึงอยากแชร์การถ่ายพลุจากประสบการณ์อันน้อยนิดของผม หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่อยากรู้วิธีถ่ายพลุเบื้องต้น

เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม

  1. กล้อง (ของมันแน่นอนอยู่แล้ว)
  2. ขาตั้งกล้องที่แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักกล้องของเราได้
  3. สายลั่น shutter (ควรจะมีแต่ไม่ก็ได้)
  4. ไฟฉาย (เพื่อใช้หาของสิ่งให้ที่มืด)
  5. แบตเตอรี่ที่ชาร์เต็ม
  6. เสบียง
  7. ดวง

ทำเลดีมีชัยไปกว่าครึ่ง

ทำเลให้การถ่ายพลุมีความสำคัญมากๆและควรมาก่อนตั้งแต่เนิ่นๆก่อนที่พลุจะเริ่มการแสดง อยากบอกเลยว่ารูปสวยไม่สวยทำมีผลจริงๆ เราต้องรู้พลุจุดตรง เวลากี่โมง แล้วจะเอาอะไรมาเป็นฉาก บลาๆ ไม่ใช้ถ่ายออกมาแล้วเห็นแต่พลุแล้วฉากดูโล่งๆ สำหรับผมแล้วมันดูไม่สวย ผมอยากได้ฉากประมาณว่าเห็นแล้วรู้ว่าพลุนี้ถ่ายที่ไหน ถ่ายจากงานอะไร

ใช้โหมด M ในการถ่าย

  1. ปรับค่า iso อยู่ที่ประมาณ 100-200
  2. ค่าที่ประมาณ 8-14 (ปรับเพื่อเพิ่มหรือลดความสว่างของรูป)
  3. ใช้ shutter B (ในกรณีที่ไม่มีสายลั่นใช้ประมาณ 3s)
  4. ใช้แมนนวลโฟกัสและตั้งโฟกัสไปที่ ∞
  5. ปิดโหมดกันสั่นของเลนส์
  6. ปิด Long NR
  7. ในกรณีที่ไม่มีสายลั่นให้เปิด Exposure Delay Mode ไว้เพื่อลดการสั่นของภาพ

พลุเริ่มแล้ว

ให้เริ่มกดเริ่มกด shutter ตั้งแต่เมื่อได้ยินเสียงจุดพลุ(ในกรณีอยู่ไกลๆใช้เห็นแทน) และปล่อยเมื่อเมื่อดอกพลุบานเต็มที่ จะได้ก้านพลุและได้ดอกพลุที่บานเต็มที่ด้วย ถ้ารูปมืดไปหรือสว่างไปให้เราปรับค่า f


สุดท้ายแล้ว

  1. ให้จำเอาไว้ว่าพยายามเก็บพลุชุดแรกให้ได้พราะควันน้อย ชุดหลังๆไม่ต้องพูดถึงถ่ายออกได้ควันท่วม (ยกเว้นท่านจะดวงดี)
  2. ไม่รูปก็อย่าไปเสียใจพลุจุดเอาใจคนดู ไม่ได้เอาใจคนถ่าย
  3. ขอให้สนุกกับการถ่ายพลุครับ

Comments